วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.  สามารถแชร์ข้อมูลใช้ร่วมกันได้  ข้อมูลต่างๆในแต่ละเครื่องภายในระบบ  หากมีผู้อื่นต้องการใช้  คุณสามารถแชร์ให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้ หรือข้อมูลที่เป็นส่วนรวมก็สามารถแชร์ไว้เพื่อให้หลายๆฝ่ายนำไปใช้งานได้  ซึ่งก็จะช่วยทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและช่วยให้การปรับปรุงข้อมูลในระบบง่ายขึ้นและไม่เกิดความขัดแย้งของข้อมูลด้วย เพราะข้อมูลมีอยู่ชุดเดียว
     2.  สามารถแชร์อุปกรณ์ต่างๆร่วมกันได้  เช่น เครื่องพิมพ์  สแกนเนอร์  ซิปไดร์ฟ  เป็นต้น  โดยที่ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เหล่านั้นมาติดตั้งกับทุกๆเครื่อง  เช่นในบ้านคุณมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 4 เครื่อง  อาจจะซื้อเครื่องพิมพ์มาเพียงตัวเดียวและแชร์เครื่องพิมพ์นั้นเพื่อใช้ร่วมกันได้
     3.  สามารถใช้โปรแกรมร่วมกันหลายๆเครื่องได้  เช่น  ในห้อง LAB  คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวน คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวนเครื่องในระบบจำนวน  30 เครื่อง  คุณสามารถซื้อโปรแกรมเพียงแค่ 1 ชุดและสามารถใช้งานร่วมกันได้  ซึ่งจะทำให้สะดวกในการดูแลรักษาด้วย
     4.  การสื่อสารในระบบเครือข่ายผู้ใช้สามารถเชื่อมกับเครื่องอื่นๆในระบบได้  เช่น  อาจจะส่งข้อความจากเครื่องของคุณไปยังเครื่องของคนอื่นๆได้  นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ E - Mail ส่งข้อความข่าวสารต่างๆภายในสำนักงานได้อีก  เช่น  แจ้งกำหนดการต่างๆแจ้งข้อมูลต่างๆให้ทุกๆคนทราบ  โดยไม่ต้องพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อแจกจ่าย  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง
     5.  การแชร์อินเทอร์เน็ต  ภายในระบบเครือข่ายคุณสามารถแชร์อินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ร่วมกันได้  โดยที่คุณไม่จำเป้นต้องซื้อ Internet  Account สำหรับทุกๆเครื่องและไม่จำเป็นต้องติดตั้งโมเด็มทุกเครื่อง  ซึ่งก็จะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
     6. เพื่อการเรียนรู้ การที่คุณได้ทดลองใช้งานระบบเครือข่ายจะทำให้คุณสามารถเรียนรู้และคุ้นเคยกับระบบเครือข่ายมากขึ้น
ทำให้คุณมีประสบการณ์ในระบบเครือข่ายมากขึ้นและจะทำให้คุณรู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องยากเลย

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

รรมชาติมนุษย์ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ร่วมกันทำงานสร้างสรรสังคมเพื่อให้ ความเป็นอยู่โดยรวมดีขึ้น จากการดำเนินชีวิตร่วมกันทั้งในด้านครอบครัว  การทำงานตลอดจนสังคมและการเมือง  ทำให้ต้องมีการพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เมื่อมนุษย์มีความจำเป็นที่จะติดต่อสื่อสารระหว่างกัน    พัฒนาการ ทางด้านคอมพิวเตอร์จึงต้องตอบสนองเพื่อให้ใช้งานได้ตามความต้องการ  แรกเริ่มมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์แบบ รวมศูนย์   เช่น มินิคอมพิวเตอร์ หรือ เมนเฟรม โดยให้ผู้ใช้งานใช้พร้อมกันได้หลายคน แต่ละคนเปรียบเสมือน เป็นสถานีปลายทาง ที่เรียกใช้ทรัพยากร การคำนวณจากศูนย์คอมพิวเตอร์และให้คอมพิวเตอร์ตอบสนองต่อ การทำงานนั้น 

อุปกรณ์ที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายนั้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นรุ่นเดียวกัน หรือประเภทเดียวกัน คุณสามารถนำเอาคอมพิวเตอร์หลากหลายรุ่น  หลากหลายประเภทมาเชื่อมต่อกันได้ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องพีซี แมคอินทอช หรือยูนิกซ์เวิร์กสเตชัน โดยใช้คอนเน็กเตอร์ (Bridge) เป็นตัวเชื่อมระบบ ที่ต่างกันให้เป็นระบบเดียวกันได้ อกจากนั้นยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่น ๆ เช่น  เครื่องพิมพ์  แฟกซ์  เทปแบ๊กอัป หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่น ๆ  และสามารถใช้งานอุปกรณ์ เหล่านี้ได้โดยเรียกผ่านคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เอง  เป็นการใช้ทรัพยากรในระบบเครือข่ายร่วมกัน ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูล

         กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่งโดยผ่าน ช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับ เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

ความรู้เบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูลเป็นการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งโดยอาศัยสื่อหรือเครื่องมือต่างๆเป็นช่องทางในการสื่อสาร เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง ถ้อยคำ สัญลักษณ์ ภาพวาด จดหมาย โทรเลข เป็นต้น ต่อมาการสื่อวารข้อมูลได้พัฒนาและก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง มีการนำเทคโนโลยีด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ทำให้การติดต่อสื่อสารเกิดความสะดวก รวดเร็ว รวมทั้งได้รับข่าวสารทันเหตุการณ์อีกด้วย

การจัดหาซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้งาน

การจัดหาซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้งาน สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
1. แบบสำเร็จรูป (Packaged or ready-made software) เป็นวิธีที่ผู้ใช้งานซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายซอฟแวร์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทผู้ผลิตโดยตรง ซึ่งมักจะมีการเตรียมบรรจุภัณฑ์และเอกสารคู่มือการใช้งานไว้อยู่แล้ว ผู้ใช้สามรถนำไปติดตั้งเพื่อใช้งานได้โดยทันที กรณีที่ไม่สามารถเลือกซื้อผ่านทางร้านตัวแทนจำหน่ายได้ อาจเข้าไปในเว็บไซต์ของบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์นั้นๆ แล้วกรอกข้อมูลรายการชำระเงินผ่านระบบแบบฟอร์มบนเว็บ เมื่อรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายชำระเงินของผู้ซื้อได้รับการอนุมัติแล้ว ก็สามารถดาวน์โหลดเอาซอฟต์แวร์มาใช้งานได้ทันที
2. แบบว่าจ้างทำ (Customized or tailor-made software) เป็นวิธีการที่เหมาะสำหรับองค์กรที่มีลักษณะงานเฉพาะของตนเองและไม่สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้ได้ ดังนั้น จึงต้องมีการผลิตซอฟแวร์ขึ้นมาใช้เอง โดยให้บุคคลภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทำการผลิตซอฟแวร์ใหเตรงตามคุณสมบัติที่ต้องการ วิธีการนี้อาจทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแบบสำเร็จรูปพอสมควร แต่การทำงานของซอฟต์แวร์จะสอดคล้องตรงกับความต้องการได้ดีที่สุด
3. แบบทดลองใช้ (Shareware) เป็นวิธีที่บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ได้ผลิตโปรแกรมที่ปรับลดคุณสมบัติบางอย่างลงไป เพื่อให้ลูกค้าทดลองใช้งานก่อน โดยมีการกำหนดระยะเวลาทดลองใช้งาน เช่น ใช้ได้ภายใน 30 วัน ใช้ภายใน 90 วัน เป็นต้น หากผู้ใช้ทดลองใช้แล้วตัดสินใจว่าดี ตลอดจนเหมาะสมกับงานที่ทำอยู่ ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปแบบต็มๆจากบริษัทผู้ผลิตต่อไป
4. แบบทดลองใช้งานฟรี (Freeware) เป็นโปรแกรมที่แจกให้ใช้ฟรี เพื่อตอบสนองกับการทำงานที่หลากหลาย ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินให้กับบริษัทผู้ผลิต ส่วนใหญ่เป้าหมายของผู้ผลิตคือ ต้องการพัฒนาโปรแกรมเพื่อเผยแพร่ผลงานของตนเองให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และทดสอบระบบที่พัฒนาขึ้น ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ลิขสิทธิ์ก็ยังเป็นของบริษัทผู้ผลิตอยู่ ผู้อื่นไม่สามารถนำไปพัฒนาต่อหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
5. แบบโอเพนซอร์ซ (Open source) เป็นวิธีการขององค์กรที่มีกลุ่มบุคคลผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ทำการพัฒนาขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้นำไปใช้งานได้ฟรี รวมทั้งสามารถแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมต่างๆ ให้เหมาะสมกับงานของตนได้

ซอฟต์แวร์ประยุกต์

        คือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น เพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้า
คงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น  การทำงานใดๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จำเป็นต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้น
       ซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้รับความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกวงการ ความนิยมส่วนหนึ่งมาจาก ขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นๆ เพราะซอฟต์แวร์ที่ผลิตออกจำหน่าย ต่างพยายามแข่งขันกันหลายๆ ด้าน เช่น เรียนรู้และใช้งานได้ง่าย สนับสนุนให้ใช้กับเครื่องพิมพ์ได้ดี มีคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ที่อ่านเข้าใจง่าย ให้วิธีหรือขั้นตอนที่อธิบายไว้อย่างชัดเจน และมีระบบโอนย้ายข้อมูลเข้าออกกับซอฟต์แวร์อื่นได้ง่าย